แนวคิด

                       โครงการวิทยานิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ของสถานที่ติดตั้งให้เกิดความสวยงาม โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของต้นอ่อนและฝักของต้นโกงกาง และลูกของต้นลําพู การที่นํารูปทรงของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนมาใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าชายเลนซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือน้อยลงทุกวัน โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้ไม้เป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ประติมากรรม และ 2) การสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้หินแกรนิตเป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพราะหินแกรนิตมีความคงทนต่อแสงแดดและน้ำทะเลเป็นอย่างดี อีกทั้งในบริเวณติดตั้งแต่เดิมเป็นแหล่งหินแกรนิตที่มีชื่อเสียงของไทย จึงมีความสอดคล้องกับความเป็นมาของท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาและสร้างสรรค์ได้ผลงานประติมากรรมไม้จํานวน 8 ชิ้น และผลงานประติมากรรมหินแกรนิตจํานวน 2 ชิ้น จากนั้นได้ทดลองนําผลงานไปติดตั้งในสถานที่โดยใช้เทคนิคการสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แบบของการติดตั้งจํานวน 5 แบบ ซึ่งแบบที่ 5 มีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งนี้ได้พิจารณาถึงความสวยงามทางด้านทัศนียภาพความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความหมายของผลงานที่แสดงออกมา ความปลอดภัย และที่สําคัญคือต้องตรงกับวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการให้ผลงานศิลปะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม ทัศนียภาพของหินธรรมชาติและท้องทะเลที่มีอยู่ในบริเวณนั้นให้สวยงามยิ่งขึ้น

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : โกงกาง

เทคนิค : -
ขนาด : 110 x 18 x 21 ซม.

ชื่อภาพ : โกงกางและป่าชายเลน

เทคนิค : -
ขนาด : 160 x 25 x 40 ซม.

ชื่อภาพ : โกงกางใบแก่

เทคนิค : -
ขนาด : 10 x 14 x 107 ซม.

ชื่อภาพ : เติบโต

เทคนิค : -
ขนาด : 165 x 20 x 25 ซม.

ชื่อภาพ : ลูกลำพู 1

เทคนิค : -
ขนาด : 30 x 34 x 20 ซม.

ชื่อภาพ : ลูกลำพู 2

เทคนิค : -
ขนาด : 30 x 37 x 27 ซม.

ชื่อภาพ : ลูกลำพู 3

เทคนิค : -
ขนาด : 30 x 32 x 28 ซม.

ชื่อภาพ : ลูกลำพู 4

เทคนิค : -
ขนาด : 30 x 40 x 35 ซม.

ชื่อภาพ : ลูกลำพู 5

เทคนิค : -
ขนาด : 30 x 32 x 20 ซม.

ชื่อภาพ : ลูกลำพู 6

เทคนิค : -
ขนาด : 30 x 30 x 35 ซม.